บ้านที่เราอยากสร้าง ต้องใช้ฐานรากแบบไหน?
ฐานราก หรือ Foundation คืออะไร
ฐานราก คือส่วนประกอบของอาคารเพื่อใช้รับน้ำหนักของอาคาร ซึ่งน้ำหนักของอาคารจะถ่ายลงเสาหรือผนังของอาคาร แล้วส่งผ่านน้ำหนักลงสู่ดิน ทางวิชาการ ฐานรากแบ่งได้ 2 ประเภทหลัก
- ฐานรากตื้น (Shallow Foundation) หรือฐานรากแบบไม่มีเสาเข็ม โดยฐานรากวางอยู่บนพื้นชั้นดินโดยตรง และไม่มีการตอกเสาเข็มเพื่อรองรับฐานราก เหมาะกับพื้นดินที่มีความสามารถแบกรับน้ำหนักได้สูง พื้นดินที่ตอกเสาเข็มไม่ลงหรือยากลำบาก เช่น พื้นที่ดินลูกรัง พื้นที่ภูเขา ทะเลทราย
- ฐานรากเดี่ยว (Isolated Footing) เป็นแบบที่มีการใช้โดยทั่วไปมากที่สุด ลักษณะจะเป็นเสา 1 ต้นต่อฐานราก 1 ฐาน นิยมหล่อเป็นรูปสี่เหลี่ยม
-
- ฐานรากร่วม (Combined Footing) ในกรณีที่มีเสาใกล้กันมาก การเลือกใช้ฐานรากร่วมก็ถือว่าเหมาะสม
-
- ฐานรากแพ (Mat foundation) เป็นฐานรากที่มีขนาดใหญ่ ใช้รับน้ำหนักอาคารทั้งหมด หรือรับน้ำหนักสิ่งปลูกสร้างต่างๆ จากผนังหรือเสาก็ได้
- ฐานรากแผ่ (Spread Foundation) หรือบางทีเรียกคลองราก เป็นฐานรากที่ใช้ควบคู่กับโครงสร้างอาคารแบบผนังรับน้ำหนักหรือ Wall-bearing ในประเทศไทยไม่น่าจะนิยมใช้ แต่ในต่างประเทศจะใช้โครงสร้างรูปแบบนี้มาก โดยฐานรากจะทำหน้าที่รับน้ำหนักจากผนังตลอดแนวแล้วถ่ายลงพื้นดินที่รับน้ำหนักได้ดีอีกทีหนึ่ง
'
2. ฐานรากลึก (Deep Foundation)
- ฐานเข็มตอก (Pile Foundation) น้ำหนักของอาคารจะถ่ายลงบนเสาอาคารแล้วลงบนเสาเข็ม แล้วเสาเข็มจะถ่ายน้ำหนักลงบนชั้นหินแข็งอีกที ใช้ในกรณีที่ดินตื้นไม่มีความสามารถรับน้ำหนักได้ จึงต้องถ่ายน้ำหนักผ่านเสาเข็มไปลงบนชั้นหินแข็งที่อยู่ลึกลงไป การใช้เข็มตอกควรพิจารณาถึงสิ่งปลูกสร้างใกล้เคียงเนื่องจากแรงตอกจะสะเทือนและทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารใกล้เคียงได้
- ฐานเข็มเจาะ (Drilled Shafts Foundation) การรับน้ำหนักจะคล้ายกับฐานเข็มตอกแต่ต่างกันที่กระบวนการทำ มีข้อดีคือเสียงเบาและไม่มีแรงสั่นสะเทือน ทำให้สามารถเจาะเข็มได้ในเมืองที่มีอาคารใกล้เคียง แต่ข้อเสียคือค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เราจึงเห็นการใช้เข็มเจาะในโครงการใหญ่ๆ เช่น ศูนย์การค้า คอนโดมิเนียม ทางด่วนยกระดับ เป็นส่วนมาก
สำหรับประเทศไทย ได้มีหน่วยงานหลายหน่วยได้ทำการศึกษาชั้นดินในบริเวณต่างๆ เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการสร้างระบบฐานข้อมูลชั้นดิน เพื่อทำประโยชน์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จนถึงปัจจุบัน สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ http://www.gerd.eng.ku.ac.th/soildb/about.html
หรือที่สภาวิศวกร ท่านที่สนใจบ้านโมดูลักซ์ ทางเรามีวิศวกรและสถาปนิกคอยให้คำปรึกษาไม่ใช่แค่เรื่องฐานราก แต่เป็นทุกเรื่องที่เกี่ยวกับบ้าน เพราะเราหวังว่าคนที่ต้องการบ้านเพื่ออยู่อาศัยต้องได้บ้านที่มีคุณภาพ ปราศจากความเสี่ยงในการหาผู้รับเหมา ติดต่อเราได้ที่ LineID @modulux หรือโทร 080-3060-820 เรายินดีให้คำปรึกษาตลอดเวลา
อ้างอิง
Types of Foundation for Buildings and their Uses - theconstructor.org
การออกแบบฐานรากชั้นสูง – สภาวิศวกร
ความรู้เรื่องฐานราก - วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ไทย-ออสเตรีย